ทัวร์ จอร์แดน เพตรา

เที่ยว จอร์แดน เพตรา วาดีรัม ทะเลสาบเดดซี
ทัวร์ จอร์แดน
ทัวร์ จอร์แดน ไฮไลท์ 6 วัน 3 คืน
รหัสทัวร์ : JO-RJ01

ทัวร์ จอร์แดน  พาชม เพตรานคร อดีตนครรัฐ สีชมพู  เยี่ยมชม เมืองโรมัน โรมันเธียเตอร์ หุบเขา ศักดิ์สิทธิ เม้าท์ เนโบ  ท่องซาฟารี เที่ยวทะเลทราย วาดีรัม นอนแช่น้ำ อาบโคลน ที่ทะเลสาบเดดซี

โดยสายการบิน  : ROYAL JORDANNIAN

วันเดินทาง : ขณะนี้ – มิถุนายน 2566

ราคาเริ่มต้น :  62,900.-

ทัวร์ จอร์แดน
เดดซี จอร์แดน เพตรา 6 วัน 3 คืน
รหัสทัวร์ : PLJ-02

พาชม ความงาม เพตรานคร สีชมพู  เยี่ยมชม เมืองโรมัน โรมันเธียเตอร์ หุบเขา ศักดิ์สิทธิ เม้าท์ เนโบ โมเซส รับบัญญัติ 10 ประการ ท่องซาฟารี เที่ยวทะเลทราย วาดีรัม นอนแช่น้ำ อาบโคลน ที่ทะเลสาบเดดซี

โดยสายการบิน  : ROYAL JORDANNIAN

วันเดินทาง : เมษายน – มิถุนายน 2566

ราคาเริ่มต้น : 61,988.-

ทัวร์จอร์แดน
จอร์แดน เพตรา 7 วัน
รหัสทัวร์ : EFJ-01

เมืองมรดกโลก เพตรานคร   เยี่ยมชม เมืองโรมัน โรมันเธียเตอร์ หุบเขา ศักดิ์สิทธิ เม้าท์ เนโบ โมเซส รับบัญญัติ 10 ประการ ท่องซาฟารี เที่ยวทะเลทราย วาดีรัม นอนแช่น้ำ อาบโคลน ที่ทะเลสาบเดดซี

โดยสายการบิน  : ROYAL JORDANNIAN

วันเดินทาง : 30 เม.ย – 6 พ.ค / 4-10 มิ.ย  2566

ราคาเริ่มต้น : 69,900.-

เรื่องน่ารู้ก่อนไป เที่ยว จอร์แดน

ชนกลุ่มแรก ที่เดินทางเข้ามาสู่ เพตรา คือ พวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติ ที่สร้างเมือง เพตรา ขึ้นมานั้นคือชาว นาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล  ซึ่งแต่เดิม เป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อน ในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้ สกัดผาหินทราย เป็นบ้านเรือน และ อาศัยอยู่ ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและ รับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัย ให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บ จากผู้สัญจร ก็ช่วยให้พวก นาบาเทียน มีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น

สาเหตุที่ เพตรา ตั้งอยู่ บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้น ก็น่าจะเพราะ เพตรา ตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก – สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับ กับ อ่าวเปอร์เซีย จนถึง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายเหนือ – ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้น เมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญ ซึ่งต่อมา เรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำ ที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว

เพตรา เป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทาง ชาวกรีก มักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเพตรา เป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย

วิหารใหญ่ในเมืองเพตรา
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก

ชาวเพตรา นับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ

เพตราท เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่ เพตรา ก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง

 

การค้นพบ ถึงแม้ซากเมืองเปตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็ก ๆ คร่าว ๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า “Voyage de l’Arabie Pétrée” แปลว่า “การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ” (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่าง ๆ ที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้ 

การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5  เพตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อย ๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน